วิธีดูแลและป้องกันไม่ให้เด็กมีอารมณ์รุนแรงมีวิธีไหนบ้าง

ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน การร้องไห้เป็นการตอบสนองพื้นฐานของคนเรา เมื่อต้องพบกับอารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความโกรธ ความเครียด ความกลัว หรือแม้แต่ความสุข แต่สำหรับเด็กมักจะแสดงออกด้วยการร้องไห้เป็นพิเศษ เด็กที่โกรธง่ายมักจะรู้สึกเหนื่อยเร็วกว่า

สอนให้เด็กรู้จักกับความอารมณ์ความรู้สึก

มันเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะให้พวกเขาจดจำว่าความรู้สึกของพวกเธอคืออะไร โดยการสอนให้พวกเขาเรียกมันให้ถูกต้อง เช่น ‘ลูกดูเศร้าๆนะวันนี้’ หรือ ‘พ่อดูออกนะว่าลูกโกรธ’ นอกจากนี้ให้บอกอารมณ์ของตัวเองเมื่อพูดด้วยเช่นกัน ‘แม่รู้สึกเสียใจจังเลยที่ไม่ได้พาลูกไปเยี่ยมย่าวันนี้’ วิธีในการฝึกที่ดีสุดคือการรับชมภาพยนตร์ร่วมกัน โดยการแชร์ประสบการณ์ และความรู้สึกที่มีระหว่างการรับชม เช่น ‘ลูกคิดว่าตัวละครในเรื่องนี้กำลังรู้สึกอะไรอยู่’ การฝึกฝนแบบนี้จะช่วยให้พวกเขารู้จักกับอารมณ์รูปแบบต่างๆ

อธิบายความแตกต่างระหว่างความรู้สึกและพฤติกรรม

การสอนให้พวกเขาแยกให้ออกระหว่างการแสดงออก กับความรู้สึกที่อยู่ภายในเป็นสิ่งที่จำเป็น รวมถึงมารยาทในการเข้าสังคม เช่น บอกว่าการร้องไห้เสียงดังกลางห้างเป็นสิ่งที่ไม่ควรและน่าอาย รวมไปถึงการแสดงความก้าวร้าวที่โรงเรียนก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรเช่นกัน บอกให้พวกเขารู้ว่ามีสิทธิ์ที่จะรู้สึกอย่างไรก็ได้ แต่มันไม่โอเคที่จะแสดงออกด้วยความรุนแรง ก่อนอื่นต้องมั่นใจด้วยว่าได้มอบทางเลือกให้กับพวกเขา ว่าจะทำอย่างไรเมื่อเผชิญหน้ากับอารมณ์ที่รุนแรง การโกรธไม่จำเป็นจะต้องโยนข้าวของ และการเศร้าไม่จำเป็นต้องลงไปนอนกลิ้งร้องไห้กับพื้นรบกวนคนอื่น

วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กระเบิดอารมณ์

วิธีที่คุณตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึกของลูกอาจสร้างความแตกต่างอย่างมาก บางครั้งผู้ปกครองเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กเกิดระเบิดอารมณ์โดยไม่ตั้งใจ ถ้าอยากช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดีขึ้น เป็นการดีที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้

1.ซื้อของขวัญเพื่อให้เขาหยุดร้อง หากคุณกำลังทำแบบนี้อยู่ จะทำให้เด็กรู้ว่าจะทำอย่างไรถึงได้สิ่งที่พวกเขาต้องการ แล้วสุดท้ายพวกเขาจะร้องไห้ทุกครั้งที่อยากได้อะไร

2.แสดงความสนใจมากเกินไป ในขณะที่ให้ดูแลเอาใจใส่เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรทำ แต่การทำมากเกินความพอดีอาจเกิดเป็นผลเสีย คุณคงไม่อยากให้พวกเขาเรียนรู้ว่าการระเบิดอารมร์จะช่วยให้พวกเขาเรียกร้องความสนใจของคุณได้

3.โอ้มากเกินไป เป็นเรื่องที่ไม่ดีเช่นกัน พ่อแม่ทุกคนก็ไม่อยากเห็นลูกเสียใจ แต่การทำแบบนี้จะทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ด้วยตนเองได้ ซึ่งจะเกิดปัญหาตามมาในอนาคตแน่นอน ลองปล่อยให้เขาสงบด้วยตนเอง ถ้าเกิดมันเป็นไปไม่ได้ค่อยก้าวเข้าไปช่วย

4.บอกให้เด็กหยุดร้องไห้ การบอกให้เด็กหยุดร้องอาจทำให้เขาหรือเธอหงุดหงิดมากกว่าเดิม ถ้าคุณยิ่งดุพวกเขาในตอนที่ร้องไห้ จะเป็นการทำให้พวกเขาคิดว่ากำลังทำอะไรผิดอยู่อีก ซึ่งจะทำให้พวกเขาร้องไห้ไม่หยุด

5.อย่าประกาศว่าเขาเป็นเด็กที่อ่อนไหว พ่อแม่ต้องให้กำลังใจพวกเขา โดยบอกว่าเขาไม่ต่างกับเด็กคนอื่นๆ ยิ่งประกาศให้ทุกคนรู้ว่าเขาแตกต่าง จะทำให้ไม่สามารถเข้าสังคมกับใครได้ ซึ่งสิ่งที่จะตามมาก็คือความก้าวร้าว

การรับมือกับเด็กที่มีอารมณ์รุนแรงอาจเป็นเรื่องที่เหนื่อยสุดๆ แต่ด้วยความสนับสนุนของผู้ปกครอง จะทำให้พวกเขาสามารถก้าวผ่านความยากลำบากในช่วงวัยเด็กไปได้ สุดท้ายแล้วพวกเขาจะเติบโตกลายเป็นคนมีคุณภาพของสังคุม ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับอดทนความคนเป็นพ่อแม่ล้วนๆ