เด็กที่มีพฤติกรรมความรุนแรง มีวิธีดูแลและแก้ไขอย่างไร

หากคุณเป็นผู้ปกครองคุณอาจต้องเคยรับมือกับความโกรธ ความหงุดหงิดของเด็กกันมาก่อน การควบคุมอารมณ์เป็นทักษะที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ และเด็กบางคนใช้เวลาเรียนรู้ในการควบคุมตนเองมากกว่าคนอื่น แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของคุณมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือรุนแรง และมันอาจเป็นผลเสียตามมาในอนาคตถ้าเราไม่ทำอะไรเลย วันนี้เราจะมาดูกันว่าเราสามารถรับมือกับพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้ได้อย่างไร

เด็กมีพติกรรมก้าวร้าวทุกคนหรือเปล่า

จากสิ่งที่นักจิตวิทยาเด็กได้ออกมาเปิดเผย ทำให้เรารู้ว่าเด็กในช่วงการพัฒนาจะแสดงอาการก้าวร้าวเป็นพิเศษ เพราะพวกเขาไม่สามารถสื่อสารได้เหมือนคนทั่วไป จึงต้องแสดงออกทางร่างกายและอารมณ์แทน ยกตัวอย่างเช่นการพลักกันเล่นในสนามเด็กเล่นถือเป็นเรื่องที่ปกติ ผู้ปกครองทั่วไปอาจจะมองว่ามันเป็นความรุนแรง มองพวกเขาว่าเป็นเด็กที่ก้าวร้าว แต่สำหรับเราไม่ถือว่าเรื่องนี้เป็นความรุนแรง ยกเว้นว่ามันจะเป็นรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงซึ่งจะเห็นได้เป็นรายบุคคล

การที่เราจะรู้ได้ว่าเด็กก้าวร้าวตอนไหน ขึ้นอยู่กับอายุของพวกเขา เมื่อเด็กโตพอจะสื่อสารกันได้รู้เรื่อง หรืออายุได้ประมาณ 7 ขวบขึ้นไป การแสดงออกทางกายภาพที่มีความรุนแรงนั้น ควรจะต้องมีปริมาณที่ลดลง หากมันไม่ได้เป็นไปตามนั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้ปกครองต้องรับมือ โดยเฉพาะหากอย่างยิ่งถ้าเด็กชอบนำตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อันตราย หรือมีพฤติกรรมชอบทำลายข้าวของ พฤติกรรมเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางสมอง ดังนั้นถ้าจะให้ดีจึงควรปรึกษากับจิตแพทย์ หรือพาไปตรวจเพื่อหาสาเหตุก่อนที่จะสายเกินไป

พ่อแม่สามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง

1.พยายามใจเย็นให้มากที่สุด แม้ว่าเด็กจะแสดงอาการก้าวร้าวออกมา ถ้ายิ่งคนในครอบครัวตอบโต้ด้วยความรุนแรงกลับ จะกระตุ้นให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นใช้เวลานี้เป็นแบบอย่างที่ดีให้พวกเขาได้จดจำ ว่าทุกคนไม่ได้แสดงความก้าวร้าวอยู่ตลอดเวลา

2.อย่ายอมแพ้กับความโกรธเคืองหรือพฤติกรรมก้าวร้าว ยกตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยในบ้านเรา ก็คือเวลาที่เด็กอยากได้ของเล่นแล้วลงไปชักดิ้นชักงอบนพื้น หรือร้องไห้เสียงดังลั่นห้าง พ่อแม่ส่วนใหญ่มักสงสาร หรืออายกับพฤติกรรมเหล่านี้ สุดท้ายก็ต้องซื้อให้จนได้ สิ่งนี้เป็นการกระทำที่ผิด เพราะจะส่งเสริมให้เด็กนำพฤติกรรมเหล่านี้ไปใช้ตลอดในอนาคต

3.ถ้าทำดีต้องให้คำชม เด็กที่มีพฤติกรรมที่ดี ช่วยเหลืองานภายในบ้าน หรือถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรเลย เพียงแค่ไม่ดื้อ ไม่ซน แค่ชมเขาว่าเป็นเด็กที่ดี หรือ มอบของขวัญให้เขาเป็นของเล่นชิ้นโปรด สิ่งนี้จะกระตุ้นให้เด็กรู้ว่าพฤติกรรมที่เขาทำเป็นสิ่งที่ดี และพวกเขาจะพยายามทำมันต่อไป

4.ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะแสดงออกด้วยการตั้งชื่ออารมณ์ ตัวอย่างเช่นว่า “แม่บอกได้เลยว่าลูกอาจจะโกรธแม่จริงๆ แล้วในตอนนี้” สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าอารมณ์ของพวกเขามันคืออะไร แทนที่จะแสดงออกทางกายภาพ

5.เลือกรางวัลให้เหมาะสมกับเด็ก แทนที่จะให้เงินไปซื้อขนมของเด็ก ให้พวกเขาเลือกอาหารที่อยากจะกิน หรือได้เป็นคนเลือกไหนที่จะได้ดูพร้อมกันในครอบครัวแทนจะดีกว่า

ถ้าหากสถานการณ์อยู่เหนือการควบคุมแล้ว จำเอาไว้ว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่กำลังรับมือกับปัญหาเหล่านี้ มีโรงพยาบาลหลายแห่งมากมายที่เปิดให้คำปรึกษากับผู้ปกครอง ที่กำลังเผชิญหน้ากับเด็กที่มีพฤติกรรมความรุนแรง อย่าอายที่จะไปขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้คุณได้รับคำแนะนำในการดูแลที่เหมาะสม เพราะเด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมรุนแรงไม่เท่ากัน และขั้นตอนการดูแลรักษานั้นก็ยังไม่เหมือนกันอีกด้วย