เมื่อลูกมีอาการก้าวร้าว ควรทำอย่างไร

ทำไมเด็กถึงมีอาการก้าวร้าว เราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเด็กอยู่ในช่วงวัยไหน ถ้าอยู่ในช่วงระหว่างพัฒนา มันไม่แปลกที่พวกเขามักจะเริ่มกัด เตะ หรือ โยนข้าวของ โดยพัฒนาการของพวกเขาก็จะเริ่มดีขึ้นตามเวลา อาการก้าวร้าวเกิดขึ้นได้ทุกวัย โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียนจะเต็มไปด้วยความเครียดจากสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เช่นการต้องไปอยู่ในสถานที่อย่างสถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งอาจทำให้พวกเขาแสดงความก้าวร้าวออกมา เพราะไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดออกมาได้

ในบางครั้งความก้าวร้าวนั้น ก็เป็นวิธีที่จะเรียกร้องความสนใจ หากเด็กได้รับการตอบสนองจากการที่พวกเขาเริ่มแสดงความไม่พอใจ พวกเขาจะเรียนรู้ว่าวิธีนี้จะสามารถใช้ดึงดูดความสนใจของพ่อแม่ได้ ทุกวันนี้ปัญหาความก้าวร้าวของเด็กเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ทุกบ้าน บางครั้งมันก็เป็นเรื่องง่ายที่จะแก้ไข แต่บางครอบครัวอาจเป็นปัญหาที่เกินควบคุม แล้วเราสามารถทำอะไรได้บ้างในกรณีนี้

ทำอย่างไรเพื่อรับมือกับอาการก้าวร้าว

ต้องเริ่มลงมือทำอะไรซักอย่างในทันที เพื่อที่จะให้ช่วยเรารู้ว่าพฤติกรรมของพวกเขาเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แทนที่จะมาปล่อยให้เวลามันผ่านไป โดยทิ้งให้ปัญหายังคงอยู่อย่างนั้น หากเขาหรือเธอเริ่มมีความก้าวร้าวมากขึ้น ให้แยกตัวออกมาจากคนอื่นๆ พาไปนั่งในสถานที่เงียบๆ โดยนั่งอยู่กับเขาจนกว่าจะเริ่มใจเย็นลง ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณไม่กี่นาที ในขณะที่บางคนก็อาจกินเวลานานกว่านั้น การพาพวกเขาออกจากสถานที่นั้นๆ จะช่วยให้พวกเขาตระหนักได้ว่าการกระทำของพวกเขาล้วนมีผลลัพธ์ที่ตามมา เช่น ถ้าเขาเริ่มโยนข้าวของเมื่อไหร่ นั่นหมายความว่าเขาจะไม่ได้เล่นกับเพื่อน

ห้ามตอบโต้กลับด้วยการตีโดยเด็ดขาด

พ่อแม่หลายคนมักโมโหและชอบตีลูกเพื่อเป็นการสั่งสอน แต่การทำโทษด้วยการตีล้วนแต่จะสร้างรอยแผลในจิตใจ มันไม่ได้ช่วยให้พวกเธอเรียนรู้ที่จะสงบเลย มีแต่จะทำให้พวกเขาหรือเธอรู้สึกโกรธหรือกลัว แทนที่จะเป็นการสร้างความเคารพในครอบครัว คุณอาจจะรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพยายามเก็บอารมณ์เอาไว้ ขอให้หายใจเข้าลูกๆ และพยายามเป็นตัวอย่างที่ดี ด้วยการตอบโต้กลับไปด้วยคำพูดที่ใจเย็น

พยายามตอบโต้ด้วยความใจเย็น

หากพวกเขาแสดงอาการก้าวร่าว ให้แสดงการตอบสนองในทางที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้ง่าย และไม่รุนแรงเกินไป เพื่อให้พวกเขารู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา เมื่อพวกเขาทำพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่สมควร หลีกเลี่ยงการสร้างกฎในบ้านที่ทำให้เด็กสับสน เช่น การสร้างกฎสำหรับ 2 วัน ว่าวันหยุดทำอะไรได้บ้าง แล้ววันธรรมดาห้ามทำอะไรบ้าง ช่วยให้พวกเขารู้สึกมีอิสระจากกฎระเบียบมากขึ้น

เปิดอกคุยเรื่องความรู้สึก

เมื่อเด็กเริ่มมีอาการที่สงบลงแล้ว มันถึงเวลาที่จะเริ่มสนทนาเพื่อหาทางออกอย่างอ่อนโยน ด้วยการถามพวกเขาว่าทำไมถึงโกรธ อธิบายว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราจะรู้สึกโกรธหรือโมโหใคร แต่ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เช่น การพลัก เตะ กัด เป็นสิ่งที่ห้ามทำ

สอนให้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ

ถ้าเด็กเกิดทำอะไรผิดพลาดไป ต้องสอนให้เขารู้จักแสดงออกเพื่อรับผิดชอบ ยกตัวอย่างเช่น ให้พวกเขาเดินไปเก็บของเล่นที่ขว้างไปบนพื้น หรือช่วยเก็บของเล่นหลังจากที่เล่นเสร็จแล้ว อธิบายว่านี้ไม่ใช่การทำโทษ แต่เป็นการสอนให้รู้ดูแลตัวเอง มีความรับผิดชอบ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้พวกเขาได้เป็นคนที่ดีในสังคม นอกจากนี้ยังตอบสอนให้พวกเขารู้จักขอโทษด้วยความจริงใจด้วย เมื่อพวกเขาทำอะไรก็ตามที่ให้ผู้อื่นเสียใจ